ความรู้เรื่องเฟือง
ชนิดของเฟือง (Type of gears)
ลักษณะของเฟืองถูกเปลี่ยนตามความเหมาะสมในการใช้งานในครั้งนี้เราก็จะมาดูในส่วนของชนิดของเฟืองกันว่ามีกี่ชนิด และแต่ละชนิดนำไปใช้ในการทำงานด้านใดบ้าง
1.เฟืองตรง (Spur gears)
สำหรับเฟืองตรงดังรูป เป็นเฟืองที่ใช้งานกันเป็นส่วนมาก มีลักษณะคือในส่วนของฟันเฟืองจะขนานไปกับรูเพลา เป็นเฟืองที่มีลักษณะโครงสร้างง่าย ไม่ซับซ้อน การทำงานของเฟืองตรง โดยทั่วไปนั้นจะใช้ในระบบส่งกำลัง เนื่องจากขนาดของฟันมีขนาดเท่ากัน หมุนด้วยความเร็วเชิงมุมที่เท่ากัน แต่จะต่างกันแค่จำนวนฟัน
2.เฟืองเฉียง (Helical gears)
3.เฟืองก้างปลา (Herringbone Gears or Double Helical Gears)
เฟืองเฉียงที่ถูกพัฒนารูปแบบเพื่อลดแรงด้านข้าง เป็นการนำเฟืองเฉียงมาประกบกันในลักษณะที่สมมาตร โดยมีลักษณะของฟันเฟืองที่เฉียงเข้าหากันในมุมที่เท่ากัน ทำให้แรงลัพธ์เป็นศูนย์ จากลักษณะโครงสร้างของเฟืองก้างปลา ทำให้เฟืองก้างปลามีคุณสมบัติข้อดีเหมือนกับเฟืองเฉียง แถมยังแก้ข้อเสียในการเกิดแรงรุนอีกด้วย
4.เฟืองสะพาน (Rack Gears)
ประกอบด้วยสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นเฟืองตรง ทำหน้าที่เป็นตัวขับ ในบางกรณีอาจใช้เฟืองเฉียง และส่วนที่เป็นเฟืองสะพาน โดยมีลักษณะเป็นแท่งยาวตรงและมีฟันเฟืองอยู่ด้านบนขบอยู่กับฟันเฟืองของตัวขับ มีหน้าที่ในการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่จากการเคลื่อนที่ในลักษณะการหมุนหรือการเคลื่อนที่เชิงมุม ใช่ในการส่งถ่ายกำลังในเครื่องจักรกล
5.เฟืองวงแหวน (Internal Gear, Ring Gear)
มีลักษณะเหมือนกันกับเฟืองตรง ต่างกันตรงที่มีฟันเฟืองอยู่ด้านในของวงกลม ใช้ร่วมกับเฟืองที่มีขนาดเล็กกว่าที่ขบอยู่ด้านใน ใช้งานกับความต้องการให้เฟืองขับกับเฟืองตามหมุนในทิศทางเดียวกัน
6.เฟืองดอกจอก (Bevel Gear)
มีรูปทรงคล้ายกับกรวยมีทั้งแบบเฟืองตรง และเฟืองเฉียง จะขบกันในลักษณะแนวเพลา ของเพลา จะตั้งฉากหรือตัดกัน สวนใหญ่จะตั้งฉากกัน โดยเฟืองดอกจอกนั้นแบ่งได้เป็นดังนี้
1.เฟืองดกจอกแบบเฟืองตรง มีลักษณะของฟันเฟืองที่เป็นเฟืองตรง โดยที่แนวของฟันเฟืองจะเป็นแนวเดียวกับยอดของเฟือง ข้อดีคือง่ายต่อการผลิต มีราคาถูก นำมาใช้ในงาน ส่วนประกอบเครื่องจักร และเฟืองท้ายของรถยนต์ โดยทำหน้าที่เป็นเฟืองบายศรี ป้องกันการสะบัดของล้อทั้งสองข้างขณะเลี้ยว
2.เฟืองดอกจอกแบบเฟืองเฉียง ฟันมีลักษณะเป็นแนวโค้ง และแนวด้านบนของฟันจะลาดลงในลักษณะโค้งจากด้านในออกไปด้านนอกของฟัน ทำให้มีพื้นที่รับแรงมาก ส่งผลให้มีความทนทานมากและเกิดเสียงน้อย
3.เฟืองไฮปอยด์ เป็นเฟืองดอกจอกแบบเฟืองเฉียง ต่างจากเฟืองเฉียงตรงแกนเพลาของเฟืองไฮปอยด์นั้นระนาบเฟืองขับและเพลาของเฟืองตามจะไม่ตัดกัน
7.เฟืองดอกจอกแบบสมมาตร (Miter Gear)
เป็นเฟืองที่มีอัตราทด 1:1 ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนทิศทางเพียงอย่างเดียว
8.เฟืองเกลียวสกรู (Screw Gears or Spiral Gears)
ลักษณะเป็นเฟืองเฉียง หรือเฟืองเกลียวใช้ส่งกำลังระหว่างเพลาที่ทำมุมกัน 90องศา ใช้ในการเปลี่ยนทิศทางในการส่งกำลังของเพลา
9.เฟืองหนอน (Worm Gears)
ประกอบด้วยชุดเกลียวตัวหนอน ซึ่งวางอยู่บนก้านเกลียวตัวหนอน เหมือนลักษณะของสกรูและเฟือง การทำงานจะเกิดแรงสั่นสะเทือนน้อยและเกิดเสียงเบา อัตราทดเฟืองทำได้มาก
ลักษณะของเฟืองถูกเปลี่ยนตามความเหมาะสมในการใช้งานในครั้งนี้เราก็จะมาดูในส่วนของชนิดของเฟืองกันว่ามีกี่ชนิด และแต่ละชนิดนำไปใช้ในการทำงานด้านใดบ้าง
1.เฟืองตรง (Spur gears)
สำหรับเฟืองตรงดังรูป เป็นเฟืองที่ใช้งานกันเป็นส่วนมาก มีลักษณะคือในส่วนของฟันเฟืองจะขนานไปกับรูเพลา เป็นเฟืองที่มีลักษณะโครงสร้างง่าย ไม่ซับซ้อน การทำงานของเฟืองตรง โดยทั่วไปนั้นจะใช้ในระบบส่งกำลัง เนื่องจากขนาดของฟันมีขนาดเท่ากัน หมุนด้วยความเร็วเชิงมุมที่เท่ากัน แต่จะต่างกันแค่จำนวนฟัน
เฟืองตรง http://www.moro.co.th/ |
เฟืองเฉียงมีลักษณะทั่วไปเหมือนกับเฟืองตรง แต่ฟันจะไม่ขนานกับรูเพลาแต่จะทำมุมกับรูเพลาแทน โดยลักษณะการเอียงจะขึ้นอยู่กับความต้องการนำไปใช้งาน ในการทำงานเฟืองเฉียงนั้นจะสามารถรับภาระได้มากกว่าเฟืองตรงเนื่องจากลักษณะของการเฉียงของฟันทำให้ฟันยาวและพื้นที่หน้าสัมผัสของฟันมาก เสียงที่เกิดจากเฟืองเฉียงจะเบากว่าเฟืองตรง เนื่องจากการขบกันจกระทำอย่างนิ่มนวลมากกว่า
เฟืองเฉียง https://sites.google.com/site/krrmwithikarphlitt/neuxha-sara/bth-thi-7-kar-phlit-feuxng |
เฟืองเฉียงที่ถูกพัฒนารูปแบบเพื่อลดแรงด้านข้าง เป็นการนำเฟืองเฉียงมาประกบกันในลักษณะที่สมมาตร โดยมีลักษณะของฟันเฟืองที่เฉียงเข้าหากันในมุมที่เท่ากัน ทำให้แรงลัพธ์เป็นศูนย์ จากลักษณะโครงสร้างของเฟืองก้างปลา ทำให้เฟืองก้างปลามีคุณสมบัติข้อดีเหมือนกับเฟืองเฉียง แถมยังแก้ข้อเสียในการเกิดแรงรุนอีกด้วย
4.เฟืองสะพาน (Rack Gears)
ประกอบด้วยสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นเฟืองตรง ทำหน้าที่เป็นตัวขับ ในบางกรณีอาจใช้เฟืองเฉียง และส่วนที่เป็นเฟืองสะพาน โดยมีลักษณะเป็นแท่งยาวตรงและมีฟันเฟืองอยู่ด้านบนขบอยู่กับฟันเฟืองของตัวขับ มีหน้าที่ในการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่จากการเคลื่อนที่ในลักษณะการหมุนหรือการเคลื่อนที่เชิงมุม ใช่ในการส่งถ่ายกำลังในเครื่องจักรกล
5.เฟืองวงแหวน (Internal Gear, Ring Gear)
มีลักษณะเหมือนกันกับเฟืองตรง ต่างกันตรงที่มีฟันเฟืองอยู่ด้านในของวงกลม ใช้ร่วมกับเฟืองที่มีขนาดเล็กกว่าที่ขบอยู่ด้านใน ใช้งานกับความต้องการให้เฟืองขับกับเฟืองตามหมุนในทิศทางเดียวกัน
6.เฟืองดอกจอก (Bevel Gear)
มีรูปทรงคล้ายกับกรวยมีทั้งแบบเฟืองตรง และเฟืองเฉียง จะขบกันในลักษณะแนวเพลา ของเพลา จะตั้งฉากหรือตัดกัน สวนใหญ่จะตั้งฉากกัน โดยเฟืองดอกจอกนั้นแบ่งได้เป็นดังนี้
1.เฟืองดกจอกแบบเฟืองตรง มีลักษณะของฟันเฟืองที่เป็นเฟืองตรง โดยที่แนวของฟันเฟืองจะเป็นแนวเดียวกับยอดของเฟือง ข้อดีคือง่ายต่อการผลิต มีราคาถูก นำมาใช้ในงาน ส่วนประกอบเครื่องจักร และเฟืองท้ายของรถยนต์ โดยทำหน้าที่เป็นเฟืองบายศรี ป้องกันการสะบัดของล้อทั้งสองข้างขณะเลี้ยว
2.เฟืองดอกจอกแบบเฟืองเฉียง ฟันมีลักษณะเป็นแนวโค้ง และแนวด้านบนของฟันจะลาดลงในลักษณะโค้งจากด้านในออกไปด้านนอกของฟัน ทำให้มีพื้นที่รับแรงมาก ส่งผลให้มีความทนทานมากและเกิดเสียงน้อย
3.เฟืองไฮปอยด์ เป็นเฟืองดอกจอกแบบเฟืองเฉียง ต่างจากเฟืองเฉียงตรงแกนเพลาของเฟืองไฮปอยด์นั้นระนาบเฟืองขับและเพลาของเฟืองตามจะไม่ตัดกัน
7.เฟืองดอกจอกแบบสมมาตร (Miter Gear)
เป็นเฟืองที่มีอัตราทด 1:1 ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนทิศทางเพียงอย่างเดียว
8.เฟืองเกลียวสกรู (Screw Gears or Spiral Gears)
ลักษณะเป็นเฟืองเฉียง หรือเฟืองเกลียวใช้ส่งกำลังระหว่างเพลาที่ทำมุมกัน 90องศา ใช้ในการเปลี่ยนทิศทางในการส่งกำลังของเพลา
9.เฟืองหนอน (Worm Gears)
ประกอบด้วยชุดเกลียวตัวหนอน ซึ่งวางอยู่บนก้านเกลียวตัวหนอน เหมือนลักษณะของสกรูและเฟือง การทำงานจะเกิดแรงสั่นสะเทือนน้อยและเกิดเสียงเบา อัตราทดเฟืองทำได้มาก
ความคิดเห็น