เฟืองดอกจอก
เฟืองดอกจอกเป็นเฟืองที่ใช้ระหว่างเพลาที่วางในทิศทางตัดกันและมีมุมในการทำงานที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามรูปร่าง
ข้อเสียของการทำให้เฟืองเป็นมุมเอียงก็คือความยากในการประกอบเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนมุมในการทำงานได้
ตัวเพลาเองก็จะได้รับแรงกระทำที่สูงด้วย ดังนั้นการเลือกใช้
ตลับลูกปืนที่สามารถทนทานต่อแรงกระทำได้จึงมีความสำคัญเช่นเดียวกับกรณีของเฟืองเฉียง
เฟืองดอกจอกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ได้แก่ แบบตรง (Straight Type) และ
แบบโค้ง (Spiral Type)
เฟืองดอกจอกแบบเฟืองตรง (Straight
Bevel Gear)
จะมีลักษณะของฟันเฟืองที่เป็นเฟืองตรง
โดยที่แนวของฟันเฟืองจะเป็นแนวเดียวกับยอดของเฟือง
โดยที่แนวของฟันเฟืองจะเป็นมุมตัดกับแนวแกนเพลา
คุณสมบัติเฉพาะของเฟืองแบบนี้คือ
* สามารถทำอัตราทดสูงสุดได้ถึง 1:5
* ง่ายต่อการผลิตจึงทำให้มีราคาถูกกว่า
ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในงาน
ส่วนประกอบของเครื่องจักร และเฟืองท้ายของรถยนต์โดยทำหน้าที่เป็นเฟืองบายศรี (Differential
Gear) ป้องกันการสะบัดของล้อทั้งสองข้างขณะเลี้ยว
เฟืองดอกจอกแบบเฟืองเฉียง (Spiral
Bevel Gear)
ฟันของเฟืองแบบนี้จะมีลักษณะเป็นแนวโค้งออกไปรอบ ๆ รัศมีของเฟือง
ต่างจากแบบฟันตรงที่ฟันของแบบนั้นจะออกมาตรง ๆ ตามแนวรัศมีของเฟือง
และแนวด้านบนของฟันก็จะลาดลงในลักษณะโค้งจากด้านในออกไปสู่ด้านนอกขอบฟัน
การที่เฟืองมีลักษณะโค้งแบบนี้ทำให้มีพื้นที่สัมผัสหรือพื้นที่รับแรงมากกว่าแบบเฟืองตรง
ทำให้มีความทนทานมากกว่าและเสียงในขณะการทำงานน้อยกว่าเฟืองดอกจอกแบบเฟืองเฉียง
- สามารถออกแบบให้อัตราทด (Ratio)
มากกว่า โดยมีความแข็งแรงทนทานมากกว่าเฟืองดอกจอกแบบเฟืองตรง
- เหมาะสำหรับใช้กับอัตราทดของเฟืองที่มาก ๆ
-
มีประสิทธิภาพในการส่งถ่ายกำลังที่ดีกว่าในขณะที่การทำงานเงียบกว่าเฟืองดอกจอกแบบเฟืองตรง
- มีความยากกว่าในการออกแบบและสร้าง
จึงทำให้มีราคาแพงกว่า
คุณสมบัติเฉพาะในการใช้งานเฟืองดอกจอกแบบเฟืองเฉียง
ที่โดดเด่นมีดังนี้ คือ
ความคิดเห็น